คำสอนหลวงพ่อ ๑๓ ก.ย.๕๑ -2

ถ้าเราไม่ศึกษาตัวเราก็ไม่รู้ว่าใครจะศึกษาให้ มาอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่าน อยู่คนละทิศ ละที่ ละทาง ก็เพื่อแสวงหาดวงจิตของตัวเองนั่นแหละ
บางคนบางท่านก็เห็นเร็ว บางคนบางท่านก็เห็นช้า บางคนบางท่านก็ไม่เห็น ไม่รู้ เพราะว่าไม่ได้ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง

เราอย่าอยู่กับที่ เราต้องพยายามอยู่ตลอดเวลา ขอให้รู้จักการสร้างความรู้ตัว และก็สร้างให้ต่อเนื่อง
แล้วก็น้อมใจเข้าไปอยู่ในกองบุญอยู่ตลอดเวลา ถ้าคิดอกุศลเราก็รู้จักดับ คิดกังกวลคิดฟุ้งซ่านเราก็รู้จักดับ
สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ ให้มี ให้เกิดขึ้น

อยู่ที่ไหนก็รู้จักแก้ไขตัวเอง อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่คนเดียวก็เบาสบาย อยู่หลายคนก็เบาสบาย
อานิสงค์ที่เราสร้างเราทำก็จะแผ่กระจายออกไปให้สรรพสัตว์ทุกสิ่ งทุกอย่าง
ได้รับความสุข ความสงบ ได้รับอานิสงค์ที่พวกเราทำ เราก็พลอยได้อานิสงค์นั้นด้วย

ทั้งได้ทรัพย์ภายใน ทรพัย์ภายใน คือ ความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้นของจิต
จิตที่ปราศจากกิเลส ปราศจากความโลภความโกรธ ปราศจากความหลง
จิตที่ไม่เกิด เค้าก็ไม่ไปก่อภพก่อชาติที่ไหนอีก

เราต้องพยายามทำต้นเหตุให้ถูกก็จะส่งผลถึงปลายเหตุ ถ้าต้นเหตุไม่ตรงปลายเหตุก็ไม่ตรง
ก็ต้องพยายามน้อมเข้าไปดู รู้อยู่ในกายของเรา ในกายของเรา มีอะไรดี ๆ เยอะ ถ้าค้นหานอกกายหาไม่เจอ

หาอยู่ในกายของเรานี่แหละ เกิดก็เกิดขึ้นอยู่ในกายของเรานี่แหละ อะไรคือส่วนรูป อะไรคือส่วนนาม
ส่วนนามมีอะไรบ้าง ความรู้ตัวหรือว่าสติ มีลักษณะเป็นอย่างไร การควบคุมจิตเราควบคุมจิตของเราได้ระดับไหน
ระดับต้นเหตุ เริ่มก่อตัว  ระดับกลาง ระดับที่ยังไม่ส่งออกไปภายนอก

ทุกคนก็มีโอกาสที่จะถึงจุดหมายปลายทางกันหมด ถ้าเราละทิฐิ ละมานะ ละความเห็นผิดต่าง ๆ ออกไป
พยายามสร้างความเพียร ให้มีให้เกิดขึ้นขณะที่เรายังมีกำลังอยู่ จะไปฝึกหัดปฏิบัติที่ไหน ถ้าเราไม่ได้พิจารณาตัวเราเองก็เหมือนเดิม

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

คำสอนหลวงพ่อ ๑๓ ก.ย.๕๑ -1

อ้าว! ขอให้ญาติโยมทุกคนทุกท่าน จงเจริญสติ สร้างความสงบให้มีให้เกิดขึ้นในใจของเรา
วางกาย วางใจของเรา สร้างความระลึกรับรู้ สัมผัสทางลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้เด่นชัด
พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทไหน การรู้ ระลึกรู้ การสร้างความระลึกรับรู้
สัมผัสทางลมหายใจ แล้วก็พยายามรู้ให้ต่อเนื่อง เค้าเรียกว่าสติ เรียกว่าสัมปะชัญญะ

รู้กาย ถ้าเรารู้ได้ต่อเนื่อง จิตปกติ เราก็จะรู้ว่าปกติ จิตก่อตัวเกิดส่งออกไปข้างนอก เราก็จะรู้
ความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งจิต จิตเคลื่อนเข้าไปรวมกับความคิด ถ้าเรามีความรู้สึกรับรู้ในปัจจุบัน
เราก็จะรู้ในลักษณะอาการความคิดที่ เกิด ๆ ดับ ๆ
เราต้องพยายาม พยายามฝึกฝนตนเอง สร้างความขยันหมั่นเพียรให้มีให้เกิดขึ้น อยู่ตลอดเวลา

ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน การทำความเข้าใจก็ขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง
เราต้องเข้าให้ถึงความหมาย เข้าให้ถึงลักษณะ บุคคลมีสติมีปัญญา
อยู่คนเดียวก็รู้จักแก้ไขตัวเอง อยู่หลายคนก็รู้จักแก้ไขตัวเอง
อันนี้เป็นส่วนรูปธรรม อันนี้เป็นส่วนนามธรรม เป็นที่พึ่งของตัวเองได้ เป็นที่พึ่งของคนอื่นได้

ถ้าเรามีสติ มีปัญญา มีอานิสงค์มีความเพียรที่แก่กล้า อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง เสียดายเวลา
ทุกคนเกิดมาที่เกิดก็ปรารถนาจุดหมายปลายทางกันทั้งนั้น

แต่จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการสร้างอานิสงค์สร้างบารมี ว่าจะไปได้ตรง หรือว่า วิบากกรรมต่าง ๆ จะมาฉุดมารั้งเอาไว้
เราก็ต้องพยายามฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ไปให้ถึง ถึงไปไม่ถึงก็ให้เดินอยู่ในกองกุศล เป็นกองทุนเอาไว้
หมั่นสร้างคุณงามความดีอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ถึงจิตเราคิดอยู่ ก็คิดในกุศลธรรม มองโลกในทางที่ดี

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

เมตตาภาวนา

จากหนังสือ เมตตาภาวนา: คำสอนว่าด้วยรัก
ติช นัท ฮันส์
ในองฺคุตฺตรนิกาย พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงคุณประโยชน์ของการปฏิบัติเมตตาภาวนาไว้ ๑๑ ประการ
 
 พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงคุณและโทษของการปฏิบัติ และการไม่ปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนหันมาสู่ปฏิปทา
๑. ผู้ปฏิบัติจะหลับสบาย

๒. เมื่อตื่นขึ้น จิตใจจะรู้สึกสบายและปลอดโปร่ง
๓. จะไม่ฝันร้าย
๔. ผู้ปฏิบัติจะเป็นที่ชื่นชอบของคนมากมาย และตัวผู้ปฏิบัติจะรู้สึกดีกับทุกๆ คน คนอื่นๆ โดยเฉพาะเด็กๆ จะชอบเข้าใกล้
๕. เขาจะเป็นที่รักของสัตว์ต่างๆ นก ปลา ช้าง กระรอก สิ่งมีชีวิตทั้งที่มองเห็นได้และไม่อาจมองเห็นได้จะชื่นชอบเข้าใกล้
๖. ผู้ปฏิบัติจะได้รับความช่วยเหลือและปกปักจากทวยเทพ
๗. เขาจะได้รับการปกป้องออกจากไฟ ยาพิษ และคมดาบ โดยไม่จำเป็นต้องดิ้นรนหลีกหนีจากสิ่งเหล่านี้เลย
๘. ผู้นั้นจะเข้าสู่สมาธิได้อย่างง่ายดาย
๙. สีหน้าของผู้นั้นจะผ่องใสและเปล่งปลั่ง
๑๐. เมื่อถึงเวลาตาย จิตใจจะผ่องแผ้ว
๑๑. ผู้ปฏิบัติจะได้ขึ้นสู่สวรรค์ชั้นพรหม ซึ่งสามารถสืบต่อการปฏิบัติได้ เพราะที่นั่นมีสังฆสมาคมของผู้ฝึกพรหมวิหารสี่สถิตอยู่แล้ว

 

ในอิติวุตฺตก พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ถึงเราจะรวบรวมกุศลทั้งมวลบรรดามีในโลก ก็ยังไม่อาจเทียบเท่าได้กับการปฏิบัติเมตตาภาวนา

การสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม สร้างพระพุทธรูป หล่อระฆัง หรืองานสังคมสงเคราะห์อื่นใด

ก็ยังได้บุญไม่ถึงหนึ่งใน ๑๖ ส่วนของการปฏิบัติเมตตาภาวนา แม้เราจะเอาแสงจากดวงดาราทั้งหลายมารวมกัน

ก็ยังไม่อาจสว่างไสวได้เทียมเท่ากับแสงจันทร์ ในทำนองเดียวกัน

การปฏิบัติเมตตาภาวนาก็ยิ่งใหญ่กว่าการทำกุศลอื่นๆ ทั้งปวงมารวมกันเสียอีก

 

การปฏิบัติเมตตาภาวนาก็เหมือนกับการขุดลึกลงไป จนกระทั่งเราค้นพบตาน้ำ
 
เราจะพิจารณาดูตัวเองอย่างจริงจัง จนรู้แจ้ง แล้วความรักก็จะปรากฏสู่ภายนอก
 
 ดวงตาของเราจะฉายแววของความสุข ความเบิกบาน
 
ผู้คนที่อยู่รอบข้างก็จะได้รับอานิสงส์จากรอยยิ้มและการปรากฏตัวของเรา
 

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

ศรัทธาบริจาคได้บุญมาก

ศรัทธาบริจาคได้บุญมาก

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์

“…การทำความดี ไม่ต้องยึดรูปแบบ มีใจก็สำเร็จได้ บุญกุศลไม่ได้แบ่งแยกว่าใหญ่หรือเล็ก ให้มีการบริจาคทั่วไป

แต่การบริจาคต้องใช้ปัญญาจึงจะสามารถได้รับบุญ หากบริจาคด้วยความแค้นเคือง เสียดาย หรือบริจาคโดยไม่ใช้ปัญญา

ก็จะได้บุญน้อยลง ทั้งๆ ที่บริจาคมากแต่ผลตอบแทนเล็กน้อย

สมัยที่พระพุทธองค์ออกจาริกบิณฑบาต พร้อมกับเผยแผ่พุทธธรรม

ความหมายคือให้เวไนยสัตว์ได้มีการบริจาคเพื่อสร้างเนื้อนาบุญเพื่อเป็นการชำระล้างวิบากกรรมและเพิ่มพูนปัญญา

ตลอดจนการฟังธรรมปฏิบัติธรรม ด้วยเหตุนี้ การบริจาคขนาดใหญ่ก็ถึงขั้นอุทิศกาย วาจา ใจ ที่เล็กๆ

ก็คือการเลี้ยงอาหาร แบบนี้ให้หนึ่งงอกสิบ ให้สิบงอกร้อย ให้พันงอกหมื่น ตลอดจนเป็นบุญกุศลที่ไร้ขอบเขต

เช่นการหว่านไถของเกษตรกร หากได้ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช ก็ยิ่งเก็บเกี่ยวได้มาก ไม่เพียงประโยชน์ต่อผู้อื่นเท่านั้น

แต่ยังสามารถย้อนกลับมาสู่ตัวเองอีกด้วย ดังนั้น การบริจาค จึงเป็นบารมีหนึ่งที่ใช้บำเพ็ญศีลของโพธิสัตว์

การบริจาคไม่ใช่เพียงเป็นเงินทองแต่อย่างเดียว การยิ้มให้คนชมความดีคนอื่น เอาพุทธธรรมที่เรารู้ดีถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น

หรือไม่ก็ใช้แรงกายทำประโยชน์ให้แก่สังคม ล้วนเป็นบุญจากการบริจาคทั้งนั้น เช่นการดูแลสถานธรรมและงานบริการธรรมไปด้วย

หรือทำงานเพื่อให้งานประชุมธรรมดำเนินไปด้วยดี อุทิศได้ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน

อีกประการหนึ่ง เมื่อเห็นหมู่ชนแล้วมีน้ำใจไปทำดี การบริจาค ก็คือสามารถเอาความคิดตนเองไปกล่อมเกลาผู้คน

 เอาใจที่ปิติ ใจนอบน้อมไม่คิดหวังผลไปบริจาค ก็เหมือนเป็นนาดี ไถหว่านน้อยแต่เก็บเกี่ยวมาก แบบนี้คือจิตศรัทธาแท้จริง

อย่าได้ยึดถือบุญกุศลภายหลังทำความดี หรือคิดคำนวณยอดบริจาคว่าบริจาคมากน้อยเท่าใด หรือถือตนว่าได้สร้างบุญเต็มเปี่ยมแล้ว

นี่คือการขีดขวางรากธรรม การไม่ติดในภาพลักษณ์ บริจาคโดยการปล่อยวาง ไม่ติดอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและธรรมารมณ์ เช่นนี้คือ การบริจาคภายใน

การตั้งใจอุทิศโดยไม่หวังผลหรือนึกเสียดาย เช่นนี้จึงมีความสุขสงบ ของมาก็ตอบรับ ผ่านไปก็ไม่ติดค้าง เมื่อไม่ยึดในอัตตาจึงว่างในอัตตา

หวังเวไนย์ทั้งหลายไม่คิดความอยาก ให้ใจตนสะอาดเสมอศรัทธาบริจาคไม่หวังผลตอบแทน ทุกอย่างหาเอาที่กาย อุทิศแรงกาย

บริจาคกว้างขวาง ความสำเร็จย่อมบริบูรณ์ บุญกุศลเหลือคณานับ

 

 

http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=5139

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

ก้าวสู่วิปัสสนาิ

ความผิด ในความถูก :  พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท)
———————
 
เหมือนกับเด็กของเรามันได้ลูกโป่งมันก็วางอย่างอื่นซะ การเล่นอย่างอื่นมันก็วางไป
 
สงบหมดอารมณ์อย่างอื่น มันก็เล่นลูกโป่งของมันสบาย
 
นี่มันอยู่แล้วนี่จิตสงบแล้ว สงบแค่ว่าเด็กที่มันมีลูกโป่งจิตใจมันก็พัวพันอยู่ในลูกโป่งอันนั้นจิตมันก็สงบ ความสงบเช่นนี้ไม่พอนะ
 
เด็กมันเห็นลูกโป่งนั้นลอยอยู่บนอากาศเท่านั้น มันสบายใจมัน มันไม่ได้นึกว่าต่อไป ลูกโป่งมันจะแตกหรือไม่ มันไม่ได้คิด
 
มันก็เห็นลูกโป่งลอยอยู่กลางอากาศมันก็สบาย เท่านี้ นี่เรียกว่าสมถะ มีความสงบแล้วนะ

   ที่นี้วิปัสสนานั้น คือทำปัญญาให้มันยิ่งไปกว่านั้น รู้จักลูกโป่งงว่ามันจะเป็นยังไง มันจะได้เห็นลูกโป่ง ต่อไปมันจะแตกไหมหนอ

อะไรต่ออะไรเหล่านี้จนให้มันเห็นในใจของมันว่าต่อไปมันเป็นของไม่เที่ยง ลูกโป่งมันของแต่กแน่นอนเลย ผลที่สุดมันจะต้องแตก ปัญญามันพุ่งไปโน้น

ไอ้สมถะนี้ไม่มีป๊ญญาเห็นลูกโป่งมันลอยอยู่บนอากาศ มันก็เล่นอยู่นั่นแหละ

เมื่อลูกโป่งแตกโผล๊ะมันก็ร้องไห้ ทำไมมันไม่ได้คิดมีปัญญาเลยว่าลูกโป่งมันจะแตกหรือยังไง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันไม่ได้ดู

มันเห็นแต่เพียงว่าลูกโป่งน่ะมันได้ใจของมันแล้ว มันก็ลอยอยู่

   มันสบายใจของมัน นี่เรียกว่าสมถะ ความสงบของสมถะ สมาธินี่ก็สงบแต่ว่ากิเลสมันมีอยู่

แต่ว่าเวลานั้นมันไม่มีกิเลส ในเวลานั้นในเดี๋ยวนั้น ในจิตนั้นมันปราศจากกิเลส จิตมันจึงไม่วุ่นวาย มันเป็นสงบอยู่เหมือนกันกับลูกโป่งในเวลานั้น

 มันยังมีลมอยู่มันก็ยังลอยอยู่บนอากาศนั่นเอง เพื่อให้เด็กดีใจอยู่ ของปลอมๆเท่านั้น อันนี้เรียกว่าสมถะก็เหมือนกันฉันนั้น

 

——-

http://www.buddhismthailand.com/cha/w.php?number=96

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

ซาเซนวาซัน บทเพลงแห่งเซน

ซาเซนวาซัน บทเพลงแห่งเซน

สรรพสัตว์คือองค์พระพุทธะแต่ปฐม
เปรียบประดุจน้ำและน้ำแข็ง
จะมีน้ำแข็งโดยปราศจากน้ำหาได้ไม่
จะมีองค์พุทธะโดยปราศจากสัตว์โลกหาได้ไม่

โดยมิรู้ว่าสัจธรรมนั้นอยู่แบบชิดติดตน
จึงออกแสวงหาเสียไกลสุดหล้า ช่างน่าสงสาร
คล้ายดั่งผู้ที่อยู่ในน้ำ
และกลับร้องหาน้ำดื่มด้วยความกระหาย
คล้ายดั่งบุตรของเศรษฐี
ผู้หลงอยู่ท่ามกลางหมู่คนจน

เหตุที่สัตว์โลกปฏิสนธิวนเวียนอยู่ในภพทั้งหก
ก็ด้วยเหล่าสัตว์หลงอยู่ในเงามืดแห่งอวิชชา
เฝ้าสัญจรจากความมืดมนสู่ความมืดมน
เมื่อใดเล่าจึงจะหลุดพ้นจากความเกิดและความตาย

ดังซาเซนที่สอนอยู่ในนิกายมหายาน
แม้การสร้างกุศลอย่างอื่นก็ไม่อาจเทียบเท่า
ทั้งบารมีทั้งหก ที่เริ่มต้นด้วยการให้ทาน
ทั้งการถือศีล และการทำกุศลให้ถึงพร้อม
ทั้งการเอ่ยนามพระอมิตาภาพุทธ และการสำนึกบาป
ทั้งหมดทั้งสิ้นย่อมสรุปลงเพียงในซาเซน*เท่านั้น

มหากุศลเพียงในการนั่งสมาธิเท่านี้
ย่อมขจัดปาบโทษทั้งปวงได้สิ้น
จะมีหนทางชั่วใดเหลืออยู่ เพื่อทำให้เราหลงทางอีกเล่า
วิสุทธิภพย่อมอยู่ไม่ห่างไกลแล้ว

หากมีคนซึ่งกอปรด้วยความนอบน้อมถ่อมตน
สดับฟังสัจจะนี้
ศรัทธาเชื่อมั่น และประพฤติตาม
ย่อมเข้าถึงมหากุศล

หากเธอหันมาเพ่งมองภายใน
เพื่อสัมผัสถึงสัจจะของธรรมชาติแห่งตน
ธรรมชาติแห่งตนซึ่งปราศจากธรรมชาติ
เธอย่อมไปพ้นขอบเขตอันจำกัดของความรอบรู้ทั้งหลาย
ประตูแห่งการรวมเป็นหนึ่งของกรรมและผลกรรมย่อมเปิดออก
หนทางแห่งเอกภาพทอดยาวไปเบื้องหน้า
รูปกายของเธอจะกลับมาเป็นรูปที่ไร้รูป
ทั้งการไป – การมาก็หยุดสนิทอยู่ในตน
ความคิดของเธอ จะแปรเปลี่ยนเป็นความคิดที่ไร้ความคิด
เมื่อเธอขับร้องและเริงรำ ก็จะประดุจเสียงของธรรม
ฟากฟ้าแห่งสมาธินั้นช่างเสรีไร้ที่ขัดขวาง
ดวงจันทร์แจ่มแห่งจตุรปรีชาญาณช่างแจ่มกระจ่างและสดชื่น

ณ บัดนี้ เธอยังต้องการสิ่งใดเพิ่มอีก
เมื่อนิพพานประจักษ์ชัดอยู่เบื้อหน้า
ณ ที่ที่เธอยืนอยู่คือวิสุทธิภพแห่งดินแดนสุขาวดี
ตัวเธอเอง จักปรากฏขึ้นโดยรูปกายแห่งองค์พุทธะ

*ซาเซน การปฏิบัติสมาธิภาวนา

– ท่าน ฮากุอิน อาจารเซน –

 
 
 
โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

เธอจงระวัง

 
เธอจงระวังความคิดของเธอ
เพราะความคิดของเธอ
จะกลายเป็นความประพฤติของเธอ

เธอจงระวังความประพฤติของเธอ
เพราะความประพฤติของเธอ
จะกลายเป็นความเคยชินของเธอ

เธอจงระวังความเคยชินของเธอ
เพราะความเคยชินของเธอ
จะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ

เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ
เพราะอุปนิสัยของเธอ
จะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต

/
"พระโพธิญาณ เถร"
หลวงพ่อ ชา สุภทฺโท

โพสท์ใน ศาสนา | 1 ความเห็น

ทำพระนิพพานให้แจ้ง-11

 ถ้ามันไม่แตกแล้ว  มันจะไม่เข้าสู่สภาพของมันจริงๆ  นี่  ที่อาตมาเปรียบให้ฟัง เหมือนกับเชือกไนล่อน หรือจะเป็นยางก็ตาม  ผูกส้นนั้นไว้กับเสานั้น ผูกส้นนี้ไว้กับเสานี้  เรามาตัดตรงกลาง ตัดปุ๊บ  มันจะสะท้อนเข้ามาติดตรงนี้ทันทีเลย  อันนั้นก็จะติดเข้าทันทีเลย

               จังว่า มันขาดออกจากกันแล้ว  มันก็สะท้อนเข้าไปอยู่กับธรรมชาติของมัน  ที่มันดึงเข้าไปผูกกันได้นั่น  อันนั้นมันเป็นยางเหนียว มันเป็นยางเหนียว  ท่านจึงให้รู้ เห็น เข้าใจ เรื่องอุปาทาน  เรียกว่า กิเลส  ตัณหา  อุปาทาน  กรรม  ก็เสวยทุกข์อันนั้นแหละ  แต่เราไม่รู้ทุกข์อันนั้นแหละ  จึงออกจากทุกข์ไม่ได้

               คนที่รู้ทุกข์  เห็นทุกข์  แต่เขาไม่ได้อยู่ด้วยทุกข์  แต่อยู่ด้วยทุกข์  เขาจะไม่เข้าไปในทุกข์

               เอาแหละ วันนี้ที่นำธรรมะมาเล่าให้ฟังในตอนเช้าวันนี้  ก็เห็นว่าสมควรแก่เวลาแล้ว  เพราะว่าการพูดนี้  มีประโยชน์น้อยกับพวกคุณ หรือพวกท่าน  แต่มีประโยชน์มากสำหรับพวกคุณพวกท่าน นำไปปฏิบัติ ให้มันรู้สึกตัว  รู้แล้วปล่อยไป  รู้แล้วปล่อยไป  ไม่ต้องเข้าไปยึดไปถือ  และความเป็นเอง มันจะเป็นเอง  แต่ไม่ทำ ไม่เป็น  รู้เฉยๆ ไม่เป็น  รู้เท่าไรก็ไม่เป็น  เป็นอย่างนั้น

               วันนี้จึงขอหยุดในการพูด การคุยกับพวกเราแล้ว  ก็จะขอวิงวอนเอาถึงคุณของพระพุทธเจ้า  แต่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าในประเทศอินเดียพู่นนะ ที่พูดนี้นะ  พระพุทธเจ้าคือตัวสติ ตัวสมาธิ ตัวปัญญาที่มีอยู่ในเรานี่แหละ  จะเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา

               ท้ายที่สุดนี้  อาตมาจึงขออ้างอิงเอาคุณของพระพุทธเจ้า และพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  และคุณของพระอรหันตสาวกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  มาเตือนจิตสะกิดใจของพวกเรา  ให้พวกเรา ได้ทำความเข้าใจกับความรู้สึกนี่แหละ  พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ดีแล้ว จึงว่า สัตว์ทั้งหลาย  เราผู้เป็นตถาคต ไปถึงแล้วแห่งนั้น  แล้วจึงนำมาสอนพวกเธอทั้งหลาย  เธอทั้งหลายจงทำอย่างที่เราตถาคตนี้  และก็จะรู้อย่างเราตถาคตนี้  แล้วก็จะเห็นอย่างเราตถาคตนี้  ก็จะหลุดพ้นไปอย่างเราตถาคตนี้  อันนี้  เราไม่ทำ  ไม่ทำ มันจะเป็นมั้ย?  เหมือนกับลูกกุญแจนั่นเอง  ไม่ใช่เป็นลูกของมัน  มันจะไปไขมันออกมาใด้ทำไม

               ดังนั้น ต้องทำอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านว่า  ให้มีความรู้สึกตัว  อย่าไปกำหนดมาก  อันว่ารู้สึกตัว กับกำหนดเนี่ยะ  มันผิดกันนะ  อันนี้เรียกว่าสติ ความระลึกได้   แต่ไม่ต้องระลึกถึงวานนี้  ไม่ต้องระลึกอะไร  คือว่า  รู้สึกตัวนั่นแหละ  เป็นการที่สัมผัส หรือว่าผัสสะ  หรือว่าระลึกได้ หรือว่ารู้ได้  เท่านั้นเอง

               ต่อเมื่อเรากระทบสิ่งแข็งๆ  กระทบกัน  แตกออกจากกันแล้ว  มันเข้าสู่สภาพเดิม  นั้นแหละ คือรู้แจ้ง รู้จริง  ผิดไปจากธรรมชาติเดิมแล้ว  ขอให้พวกเราทุกคนๆ ได้พบเอาในชีวิตนี้  จงทุกท่านทุกคน เทอญ

จบบริบูรณ์

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

ทำพระนิพพานให้แจ้ง-10

ดังนั้น เรามาที่นี่ วันนี่  อาตมาก็จะได้ลาจากพรรคพวกเพื่อนภิกษุสามเณร และญาติโยมทุกท่าน  เพราะว่ามาตั้งแต่วันที่ 2  วันนี้ก็เป็นวันที่ 8 แล้ว  จะกลับไปที่ทางโน้น เรียกว่า วัดสนามใน  เพราะว่าวัดสนามในก็นัดเพื่อน  ไม่ใช่เรานัด  เพื่อนนัดเรามา  ให้มาพบวันที่ 7  วันที่ 7 ก็เลยไม่ได้ไป  วันนี้ก็ต้องเป็นวันที่ 8 แล้ว

               ดังนั้น  การเจริญสติก็ดี  การเจริญสมาธิก็ดี  การเจริญปัญญาก็ดี  มันเป็นเพียงสมมุติ  ให้เรารู้ว่าสมมุติ  อย่าไปติดสมมุติ  ถ้าคนใดไปติดสมมุติ  แน่นปึ๊ดอยู่กับสมมุติ  แสดงว่าคนนั้นแหละเรียกว่า วัฏฏสงสารยืนยาวนานสำหรับบุคคลผู้ที่ไม่รู้ธรรม  หาบของหนักอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา

               ดังนั้น  เราจะวางภาระอันหนัก  ภาราหาเว ปัญจะขันธา  ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนัก เราต้องรู้จัก  ขันธ์ห้าคืออะไร  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ นี่เอง เป็นของหนัก  เราปล่อยเสียแล้วนี่ ปล่อยของหนักแล้ว  รูปไม่เป็นทุกข์  เวทนาไม่เป็นทุกข์  สัญญาไม่เป็นทุกข์  สังขารไม่เป็นทุกข์  วิญญาณจึ่งรู้สภาพไม่เป็นทุกข์นี่เอง  วิญญาณจึงเป็นผู้รู้  ไม่ใช่วิญญาณตายแล้วไปเกิดเมืองสวรรค์  ไม่ใช่วิญญาณตายแล้วไปเกิดนิพพาน  อันนั้นเอาไว้ก่อน  ต้องศึกษาลักษณะปัจจุบัน  ถ้าเราไม่ศึกษาลักษณะปัจจุบันแล้ว  เราก็ไม่รู้ทุกข์  เมื่อเราไม่รู้ทุกข์  เราก็ขยับเข้าไปหาทุกข์นั่นเอง

               ดังนั้น  คนรู้ทุกข์ กับคนไม่รู้ทุกข์ จึงมันไม่เหมือนกัน  รู้ทุกข์น้อย มันก็ทุกข์ก็หมดไปน้อย  ถ้ารู้มากๆ  ทุกข์มันก็หมดไปมาก  ถ้ารู้ทุกข์ให้จบให้สิ้น  ทุกข์ก็เลยไม่มีเลย  เพราะเราเห็นแล้ว  แต่ทุกข์ก็มี  แต่ทุกข์นั้นจะมาทำอะไรกับเราไม่ได้  เพราะเราเป็นใหญ่ในทุกข์  ถ้าเราเป็นน้อย ก็ทุกข์แล้ว..(พูดกลั้วหัวเราะ)..มันก็ทุกข์ก็ต้องบังคับเราได้

               อาตมาก็เคยพูดให้ฟัง  ถ้าเราจะเป็นนักมวยจริงๆ แล้ว  อย่าไปฝึกหัดกับครูมาก  ฝึกหัดกับตัวเองให้มาก  ถ้าไปฝึกหัดกับครูแล้วอาจจะได้ผลน้อย  ถ้าฝึกบ่อยๆ กับคู่ต่อสู้  ขึ้นในเวทีต้องชกทันที  แพ้ชนะมันเป็นเกมส์กีฬา  เมื่อชำนาญ เปรียว ไว คล่องแคล่ว  ขึ้นไปในเวที ไม่ต้องไหว้ครูอะไร  คู่ต่อสู้เข้ามา ชกหลุมตาทีเดียว  ชกเข้าเบ้าตาสองตานี่เลย  คู่ต่อสู้จะสู้เราไม่ได้จริงๆ

               อันนี้ก็เช่นเดียวกัน  พอดีมันคิดปุ๊บ เห็นปั๊บทันที  ความคิดถูกหยุดเลย  จะไม่มีเรื่องอะไรเลย  มันจะกระทบกัน  พอดีกระทบปุ๊บ  มันแตกทันทีเลย  พอดีมันแตกกะที มันก็เข้าสู่สภาพเดิมของมันจริงๆ

               

โพสท์ใน ศาสนา | 1 ความเห็น

ทำพระนิพพานให้แจ้ง-09

บัดนี้ เราไปใส่บาตรเพียงครั้งเดียว ได้ 6 กัปป์ บัดนี่  แล้วบัดนี้ เอายากับกาพระ หรือยากาหม่องเนี่ยะ เราตื่นมา เอาไปทิ้งใส่ทุกวัน ตื่นมา  จนตาย ก็ไม่ได้ไม่ได้เต็มเลย เป็นอย่างนั้น  เนี่ยะ..เราไม่เข้าใจคำพูดสั้นๆ อย่างนี้  แล้วเราไปตีปัญหมปัญหากันเป็นเรื่องอื่น  อันความรู้สึกตัวนี่แหละ  อันกว้างร้อยโยชน์ก็หมายถึงเราไม่รู้สึกตัว หรือโมหะนั่นเอง  มันมีโทสะ โมหะ โลภะ

               บัดนี้ เม็ดหมากงาคือรู้สึกตัวนี่เอง  เมื่อรู้เข้า ๆ ๆ  ก็เลยรู้ทุกส่วน  รู้ข้อมือ  รู้ข้อข้อมือ  รู้ข้อเข้า  รู้ข้อศอก  รู้ข้อแขน  รู้ไปทุกข้อทีเดียว  เมื่อรู้ทุกข้ออย่างนั้นนะ  สมมุติพูดนะ  มันจะรู้ลักษณะความเป็นมาอย่างนั้นๆ  ไม่ต้องไปเรียนพระไตรปิฎกก็ได้  เพราะมันมีในเรา  จึ่งมาศึกษาที่ตัวเรา  กว้างศอก ยาววา หนาคืบนี้ มีพร้อมแล้วให้เราศึกษาได้ทุกอย่างทีเดียว  เมล็ดงาก็หมายถึงความรู้สึก หรือจะว่าสติก็ได้  อันมันกว้างร้อยโยชน์ก็หมายถึงเราไม่รู้สึกตัว  เราเป็นคนประมาท  คนประมาทนั้น ท่านจึงกล่าวเอาไว้ในตำราว่า เหมือนกับคนตายแล้ว  ถึงจะมีชีวิตอยู่ก็เหมือนกับคนตายแล้วนั่นว่า  เพราะว่ามันไม่รู้สึกตัวนี่  จะมีค่ามีคุณอะไร  จึงว่า เมืองคนดี แต่เป็นคนไม่ดี ท่านว่าอย่างนั้น

               เมืองคนดี ต้องเป็นคนดี  ก็คือรู้สึกนั่นเอง คือเมล็ดงามันเต็มแล้ว  นั้นแหละจึงว่าเป็นกัปป์เป็นกัลล์ขึ้นมา เรียกว่า พระศรีอริยเมตไตรย์จึงมาตรัสรู้ ท่านว่าอย่างนั้น แต่เราก็เลยไปติดเอาตำรา..ตัวอาตมาเอง พระศรีอริยเมตไตรย์มีอายุ 80,000 ปี  แล้วจะมาเป็นมหากษัตริย์อยู่ 40,000 ปี  จะไปประกาศพุทธศาสนา 40,000 ปี  เราทำบุญให้ทาน ปรารถนาอยากไปเกิดที่ตรงนั้น  แล้วมันจะไปเกิดได้ทำไม  อันนั้นมันเป็นปุคคลาธิษฐาน  เรื่องสมมุติเอามาพูดให้ฟัง  จึงให้รู้จักสมมุติจริงๆ  พระแปลว่าผู้ประเสริฐ  ศรีคืองามตา  ริแปลว่าข้าศึก  ยะแปลว่าพ้นไป  เรียกว่า พระศรีอริยเมตไตรย์   ลักษณะทั้งนี้แหละ รู้ได้ จึงว่า สิ่งนี้แหละเป็นสมบัติของพระอริยบุคคลก็ได้  สิ่งนี้แหละเป็นสมบัติของมนุสสภูโตก็ได้  สิ่งนี้แหละเป็นสมบัติของมนุษย์ก็ได้  แล้วแต่จะพูดสมมุติขึ้นมาเท่านั้นเอง

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น