สวัสดีชาวโลก – -‘

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | 1 ความเห็น

พระคาถาเมตตาหลวง

คำสวดแผ่เมตตาตน

                อะหัง สุขิโต โหมิ. นิททุกโข โหมิ. อะเวโร โหมิ. อัพยาปัชโณ โหมิ. อะนีโฆ โหมิ. สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ.

               
(ขอให้ข้าฯ จงถึงความสุข ขอให้ข้าฯ พ้นทุกข์ ขอให้ข้าฯ อย่าได้มีเวรภัย
ขอให้ข้าฯ อย่ามีใครรังแก เบียดเบียน ข่มเหง ขอให้ข้าฯ อย่ามีความทุกข์กาย
ทุกข์ใจ ข้าฯ จะรักษาตนให้เป็นสุข)

คำสวดแผ่เมตตา

                1.สัพเพ สัตตา อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

                2.สัพเพ ปาณา อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

                3.สัพเพ ภูตา อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

                4.สัพเพ ปุคคะลา อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

                5.สัพเพ อัตตะภาวะปริยาปันนา อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

                6.สัพเพ อิตถิโย อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

                7.สัพเพ ปุริสา อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

                8.สัพเพ อะริยา อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

                9.สัพเพ อะนะริยา อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

                10.สัพเพ เทวา อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

                11.สัพเพ มะนุสสา อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

                12.สัพเพ วินิปาติกา อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

                13.สัพเพ ปาณา อเวรา อัพยาปัชฌา อะมีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

คำแปลแผ่เมตตา

                สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง           สัตว์มีลมปราณทั้งปวง

                ภูตผีทั้งปวง                           บุคคลทั้งปวง

                สัตว์ในร่างกายเราทั้งปวง  สัตว์เพศหญิงทั้งปวง

                สัตว์เพศชายทั้งปวง            สัตว์เจริญทั้งปวง

                สัตว์ไม่เจริญทั้งปวง            เทวดาทั้งปวง

                สัตว์มีใจสูงทั้งปวง              สัตว์นรกทั้งปวง

               
อย่างจองเวรกัน อย่าผูกพยาบาทอาฆาตกัน อย่าเบียดเบียนกัน
อย่าข่มเหงรังแกกัน อย่ามีความทุกข์กายทุกข์ใจ
จงรักษาตนให้เป็นสุขเป็นสุขเถิด
 

คำสวดแผ่กรุณา

                1.สัพเพ สัตตา      สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

                2.สัพเพ ปาณา     สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

                3.สัพเพ ภูตา        สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

                4.สัพเพ ปุคคะลา                สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

                5.สัพเพ อัตตะภาวะปริยาปันนา      สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

                6.สัพเพ อิตถิโย   สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

                7.สัพเพ ปุริสา      สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

                8.สัพเพ อะริยา    สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

                9.สัพเพ อะนะริยา              สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

                10.สัพเพ เทวา     สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

                11.สัพเพ มะนุสสา             สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

                12.สัพเพ วินิปาติกา            สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

คำแปลแผ่กรุณา

                สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง           สัตว์มีลมปราณทั้งปวง

                ภูตผีทั้งปวง                           บุคคลทั้งปวง

                สัตว์ในร่างกายเราทั้งปวง  สัตว์เพศหญิงทั้งปวง

                สัตว์เพศชายทั้งปวง            สัตว์เจริญทั้งปวง

                สัตว์ไม่เจริญทั้งปวง            เทวดาทั้งปวง

                สัตว์มีใจสูงทั้งปวง              สัตว์นรกทั้งปวง

                จงพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงเถิด 

คำสวดแผ่มุทิตา

                1.สัพเพ สัตตา                      ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

                2.สัพเพ ปาณา                     ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

                3.สัพเพ ภูตา                        ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

                4.สัพเพ ปุคคะลา                                ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

                5.สัพเพ อัตตะภาวะปริยาปันนา                      ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

                6.สัพเพ อิตถิโย                   ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

                7.สัพเพ ปุริสา                      ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

                8.สัพเพ อะริยา                    ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

                9.สัพเพ อะนะริยา                              ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

                10.สัพเพ เทวา                     ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

                11.สัพเพ มะนุสสา                             ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

                12.สัพเพ วินิปาติกา                            ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

คำแปลแผ่มุทิตา

                สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง           สัตว์มีลมปราณทั้งปวง

                ภูตผีทั้งปวง                           บุคคลทั้งปวง

                สัตว์ในร่างกายเราทั้งปวง  สัตว์เพศหญิงทั้งปวง

                สัตว์เพศชายทั้งปวง            สัตว์เจริญทั้งปวง

                สัตว์ไม่เจริญทั้งปวง            เทวดาทั้งปวง

                สัตว์มีใจสูงทั้งปวง              สัตว์นรกทั้งปวง

                อย่าวิบัติ คลาดเคลื่อนจากสมบัติ ที่ได้แล้ว 

คำสวดแผ่อุเบกขา

                1.สัพ
เพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฎิสะระณา
ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทาภะวิสสันติ

                2.สัพ
เพ ปาณา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฎิสะระณา ยัง
กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทาภะวิสสันติ

                3.สัพ
เพ ภูตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฎิสะระณา ยัง
กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทาภะวิสสันติ

                4.สัพ
เพ ปุคคะลา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฎิสะระณา
ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทาภะวิสสันติ

                5.สัพ
เพ อัตตะภาวะปริยาปันนา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู
กัมมะปะฎิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ
ทายาทาภะวิสสันติ

                6.สัพ
เพ อิตถิโย กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฎิสะระณา
ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทาภะวิสสันติ

                7.สัพ
เพ ปุริสา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฎิสะระณา
ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทาภะวิสสันติ

                8.สัพ
เพ อะริยา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฎิสะระณา
ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทาภะวิสสันติ

                9.สัพ
เพ อะนะริยา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฎิสะระณา
ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทาภะวิสสันติ

                10.สัพ
เพ เทวา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฎิสะระณา ยัง
กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทาภะวิสสันติ

                11.สัพ
เพ มะนุสสา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฎิสะระณา
ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทาภะวิสสันติ

                12.สัพ
เพ วินิปาติกา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู
กัมมะปะฎิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ
ทายาทาภะวิสสันติ

คำแปลแผ่อุเบกขา

                สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง           สัตว์มีลมปราณทั้งปวง

                ภูตผีทั้งปวง                           บุคคลทั้งปวง

                สัตว์ในร่างกายเราทั้งปวง  สัตว์เพศหญิงทั้งปวง

                สัตว์เพศชายทั้งปวง            สัตว์เจริญทั้งปวง

                สัตว์ไม่เจริญทั้งปวง            เทวดาทั้งปวง

                สัตว์มีใจสูงทั้งปวง              สัตว์นรกทั้งปวง

                มีกรรมเป็นของๆ ตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

               ทำกรรมสิ่งใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักได้รับผลของกรรมนั้น 

ความเป็นมาของพระคาถาเมตตาหลวง

               
พระคาถาเมตตาหลวงบทนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ท่านมักจะใช้ภาวนาเป็นการเจริญเมตตาไปยังสรรพสัตว์ไม่มีประมาณ
ให้หมู่มนุษย์และเทวดาได้รับความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วถึง

                ต่อ
มา หลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี
ได้รับถ่ายทอดไว้และได้มอบให้แก่หลวงพ่อเมตตาหลวง หรือ พระญาณสิทธาจารย์
(สิงห์ สุนทโร) แห่งวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
เพื่อใช้เป็นบทเจริญเมตตาแก่สรรพสัตว์ทั่วทุกทิศานุทิศ

อานิสงส์พระคาถาเมตตาหลวง

                พระ
คาถาเมตตาหลวงนี้เป็นการเจริญกรรมฐานชนิดที่มีอานิสงส์
ทำให้จิตตั้งมั่นได้ถึงระดับ อัปนาสมาธิ คือ เมตตา กรุณา และ มุทิตา
จิตสามารถตั้งมั่นได้ในระดับฌาณ ๓ ส่วนอุเบกขานั้น
ทำให้จิตตั้งมั่นได้ถึงฌาณ ๔

                ในกรรมฐาน ๔๐ นั้น ท่านเรียกการเจริญกรรมฐานแบบนี้ว่า พรหมวิหาร ๔ หรือ อัปปมัญญา ๔

                อนึ่ง! การเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงอานิสงส์ไว้ว่า

                ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ
สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ

                ๑.ย่อมหลับเป็นสุข

                ๒.ย่อมตื่นเป็นสุข

                ๓.ย่อมไม่ฝันลามก

                ๔.ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย

                ๕.ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย

                ๖.เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา

                ๗.ไฟ…ยาพิษ…หรือศัสตราย่อมไม่กล้ำกรายได้

                ๘.จิตย่อมตั้งมั่นได้โดยเร็ว

                ๙.สีหน้าย่อมผ่องใส (วรรณะย่อมผ่องใส)

                ๑๐.เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ (สติสัมปชัญญะสมบูรณ์)

                ๑๑.เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง (เมื่อยังไม่บรรลุธรรมชั้นสูง) ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก

                ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวนี้ ท่านผู้ใดมีความประสงค์ที่จะเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ ก็จงรีบเร่งมือปฏิบัติได้ตั้งแต่บัดนี้

http://www.mindcyber.com/home/new_book/pray/344.html

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

สิ่งสมบูรณ์

พระธรรมวินัยเป็นของบริบูรณ์ไม่บกพร่อง ไม่เหมือนกฎหมายต่างๆ
ที่ต้องมีการตัดอออกเพิ่มเข้าต้องแก้ไขกันอยู่บ่อยๆ
 ผู้นับถือพระศาสนาต่างๆให้ความเคารพว่า พระธรรมวินัยบริสุทธิ์
จึงไม่มีการบัญญัติสิ่งทั้งหลายที่พระองค์ไม่บัญญัติขึ้นใหม่
 
และไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้วออก
พระพุทธเจ้าทุกยุคทุกสมัย เมื่อท่านอุบัติขึ้นในโลก
ทุกท่านทุกองค์ได้กล่าวธรรมวินัยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มิได้ปีนเกลียวเลย
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้เราสามารถที่จะตีความได้ชัดว่า
การที่เราเกิดมาในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ใด
 
ก็เท่ากับได้เกิดในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์แล้ว
ไม่จำเป็นที่จะปรารถนามาพบพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นพระองค์นี้อีกก็ได้
เพราะเท่ากับได้พบทุกๆพระองค์แล้ว
มีแต่ให้ตั้งหน้าปฏิบัติให้ทวีคูณขึ้นเท่านั้นเป็นการดีถูกต้องแน่นอน
พราะคำสอนของพระพุทธเจ้ากี่ล้านๆ พระองค์
ก็มีคำสอนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
 
เรามีหน้าที่ที่จะเดินทางตรงไปสู่พระนิพพานอย่างไม่บิดพลิ้ว
จะถึงช้าหรือเร็วก็ไม่แวะไม่หยุด
แล้วความสงสัยในพระพุทธศาสนาก็ย่อมจะสบลายตัวหมดลงไปๆ
และไม่มีหลงเหลืออยู่ในขันธสันดานในที่สุด

“ไม่ควรตั้งข้อท้อถอยบิดพลิ้วว่าตังเองวาสนาบารมีน้อย
ถ้าวาสนาบารมีน้อย ทำไมจึงเกิดทันพระพุทธศาสนา
ในขณะที่พระธรรมคำสั่งสอนยังมีสมบูรณ์
ทุกอย่างยังมีพร้อม เพื่อการปฏิบัติ
ควรจะโทษความไม่เอาจริงความไม่ทุ่มเทของตน
มากกว่าจะโยนความไปให้วาสนาบารมี
เพราะพระธรรมคำสอนในพระพุทธเจ้าพระองค์ไหน
ก็เหมือนกันอยู่ทุกๆพระองค์”
เขมปัตโตวาท

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

ภาวนา

คนทั้งหลายชอบพูดว่า จงภาวนาทำจิตให้ว่าง พูดง่ายฟังยากไม่รู้ว่าว่างอยู่ไหนใครก็พูดได้

การตื่นอยู่ด้วยสติ จะถือว่ามีจิตว่างได้ไหม

เมื่อจิตคิดแต่สิ่งดีงาม จิตก็ว่างจากความชั่ว อย่างนี้จะถือว่าถูกต้องตามนัยพูอกันได้หรือไม่

หรือจิตยึดถือสิ่งใดเข้ามาเป็นเจ้าของเป็นจิตที่ว่าง

ก็คิดได้หลายแง่หลายนัย ปัญหาสำคัญที่ว่าจิตว่างหรือไม่ว่าง

ตัวเราควรทำความเข้าใจให้รู้ตามความเป็นจริง คือต้องปฏิบัติจริง

ก็จะหลุดพ้นจากความสงสัยของตนตามความเป็นจริง

มันก็เท่านั้นแหละเราหลุดพ้นจากปัญหาของเราต่างหาก

 เราข้ามทะเลหลงของเราต่างหาก

 

เมื่อคิดที่จะหนีจจากภัยในวัฎสงสารก็นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีวาสนาอยู่ในตัว

เมื่อเห็นทุกข์เป็นหลักของใจแล้ว นั่นก็คือ ตัวศีลสมาธิปัญญา

เมื่อเห็นอยู่เนืองๆติดต่ออยู่ภายในไม่ขาดสาย ก็เรียกว่าภาวนาอยู่ไม่ขาดสาย

 เป็นข้อวัตรของจิตรใจที่ถูกชอบด้วยหนักเข้าก็เบื่อหน่ายคลายเมาลงได้

ในแบบเย็นๆแบบรอบครอบที่เรียกว่าปัญญาชอบในวิปัสสนา

 

ขอให้แบ่งเวลาแบบภาวนา อย่าให้เสียวันเสียคืน

หากจิตรใจจะสูงขึ้น มันเป็นเอง ไม่ต้องบ่นหา

ไม่ต้องลังเล จะชนะความหลงของตนเป็นแน่แท้

การจะหมายเอาแต่ผลประโยชน์อันเป็นงัตถุภายนอกอย่างเดียว

มันก็เป็นการเห็นแก่อามิสเกินไป รู้ไหมว่าวัตถอันเป็นงัตถุภายนอกอย่างเดียว

มันก็เป็นการเห็นแก่อามิสเกินไป รู้ไหมว่าวัตถุภายนอกนั้นไม่จีรังยั่งยืน

 

การภาวนาก็ให้ทำติดต่อกันอยู่ทุกอิริยาบถ

 มันจะรวมหรือไม่รวมมันจะว่างหรือไม่ว่าง

ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องหากินทางคัดค้าน ถ้าทำไม่พอ

 มันก้ไม่ลง ถ้าทำถึงที่ของมัน มันก็ลงของมันเอง

ไม่ต้องบังคับ ถ้าไม่เห็นไม่พบสิ่งใด อย่าไปพะวงกับมัน ให้วางเฉยเสีย

 ถ้านึกกลัวก็ให้นึกคำภาวนามา ภาวนาอีก

อย่าได้โลภไปในนโยบายอันอื่นเลย

                                                             เขมปัตโตวาท

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

ปาฏิหาริย์จากบรรพตคีรี

หนทางที่ร่างกายใช้สำหรับเดินไปมานั้น เราเห็นได้ เลือกได้ด้วยสายตา

 แต่หนทางภายในที่มีไว้สำหรับให้ใจใช้เดินนั้น

จะเลือกได้ก็อาศัยปัญญา เมื่อปัญญาเห็นชอบศรัทธาจะเข้ามาประกอบ

ทำให้พอใจเป็นเอง เป็นสิ่งที่ปรากฏทิพย์ทางใจ หรือว่าจะเป็นธรรมทิพย์

เป็นปาฏิหาริย์ทิพย์ก็ได้ไม่ผิด ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นปาฏิหาริย์กันอยู่ในตัวทั้งสิ้น

ว่ากันโดยผลแล้ว ก็คือ

ปาฏิหาริย์ของเหตุที่สร้างขึ้นไว้ก่อนเท่านั้น

กรรมและผลของกรรมก็เป็นปาฏิหาริย์ในตัวมันเองทุกอย่าง

      สำหรับผู้มีกิเลสนั้นก็มีปาฏิหาริย์อยู่ในการที่จะต้องได้มาเกิด มาแก่ มาเจ็บ และมาตายอีก

 ส่วนบรรดาท่านผู้พ้นจากอาสวะกิเลสแล้วโดยสิ้นเชิงก็มีปาฏิหาริย์ที่จะเข้าสู่   

อนุปาทิเสสนิพพาน อันเปนยอดปาฏิหาริย์เหนือโลก ไม่มีสิ่งใดเทียบได้

 ผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนานั้นควรต้องรู้จักอำนาจ และคุณค่าของปาฏิหาริย์

 ที่มีทั้งในและนอกพระศาสนาว่าซับซ้อนสูงต่ำล้ำเหลื่อมกันอยู่อย่างไร

     ปาฏิหาริย์ทางโลกีย์กับปาฏิหาริย์ทางโลกุตระนั้น

อำนาจของมันมีห่างไกลกันมากจนไม่สามารถอนุมานหรือมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ

ตานอกของปุถุชนคนสามัญ  มีแต่ตาโลกุตระปัญญาเท่านั้นจึงจะมองเห็นได้

หรือแม้แต่ใช้สมาธิหัวตอ ที่รักสงบนิ่งอยู่ท่าเดียว

เป็นเถรส่องบาตรก็ไม่สามารถจะมารู้มาเข้าใจได้

เรื่องเกี่ยวกับปาฏิหาริย์เหล่านี้ซับซ้อน

แต่ก็เป็นเรื่องที่ควรจะต้องพิจารณาทำความเห็นทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยปัญญา

อย่าได้หลงปาฏิหาริย์ และอย่าได้หลงเที่ยวตามหาปาฏิการิย์ที่พาวนอยู่กับโลก

อันเต็มไปด้วยกองทุกข์นี้เลย

"ปาฏิหาริย์ภายนอก    ก็ปรากฏอยู่ภายนอก

                                     ปาฏิหาริย์ภายใน       เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในใจของเรา"

เขมปัตฺโตวาท

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

คำสอนหลวงพ่อ ๑๓ ก.ย.๕๑-7

คนทั่วไปนี่ไม่เลย ความเกียจคร้านเข้าครอบงำครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่สอง  ครั้งที่สาม นิวรณ์เข้าครอบงำ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันไม่มี
การแยกรูปแยกนามไม่มี มีตั้งแต่จะไปคิดไปนึกเอา ว่าตัวเองเก่งรู้ ตัวเองดู ตัวเองรู้ ตัวเองเห็น

มองโลกใน มีตั้งแต่มลทิน มันก็ยาก ก็ต้องพยายามเอา สร้างสะสมเอา หลวงพ่อก็ได้เพียงแค่เล่าให้ฟัง
เพราะว่าอีกสักหน่อยก็  ได้พลัดพรากจากกันเท่านั้นแหละ ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องพลัดพรากจากกันตอนตาย
อันนี้เป็นกฎของไตรลักษณ์ เป็นกฎของธรรมชาติ เราเตรียมพร้อมหรือยัง เราต้องเป็นบุคคลที่เตรียมพร้อม อยู่ตลอดเวลา
อย่าให้คนอื่นได้บังคับ เราต้องบังคับตัวเราเอง แก้ไขตัวเราเอง อยู่ตลอดเวลา มันถึงจะไปถึงจุดหมายปลายทางได้

บุคคลมีสติ มีปัญญา บุคคลที่ฉลาด มีเหตุ มีผล ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นได้บังคับ ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นได้บอกได้ชี้
มีเหตุมีผลอยู่ในตัว แก้ด้วยเหตุ แก้ด้วยผล แก้ด้วยสติ แก้ด้วยปัญญา
วันทั้งวัน เดือนทั้งเดือน ปีทั้งปี ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน
ดูอยู่ที่ใจของเรา กายของเราก็ดูแลรักษาเค้าไป ทำความเข้าใจเค้าไป ถึงเวลาก็จะแตกจะดับ
เพราะความไม่รู้นั่นแหละ ถึงทำให้ต้องวิ่ง ต้องดิ้นรน แสวงหาแนวทางหนทาง แม้แต่การแสวงหาก็ยังไปผิดทางอยู่
มันก็ถูกอยู่ในระดับของสมมุติ แต่ในหลักธรรมจริง ๆ แล้ว เราต้องละความอยากออกให้มันหมด ดับความเกิดให้มันได้

คนสมัยพุทธกาลกับสมัยปัจจุบันก็เหมือนกันหมด  แต่สมัยพุทธกาลนั้นอาจจะแสวงหาโมกธรรมมากกว่า
สิ่งแวดล้อมอำนวยให้มากกว่า ทุกวันนี้เศรษฐกิจบังคับ อะไรก็บังคับหมด มันก็เลยยาก และยากที่จะเข้าใจ

ต้องเป็นบุคคลที่มีอานิสงค์ มีบุญมาเพียงพอ มันก็ไปได้เร็วได้ไว แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ก็ต้องพยายามกันนะ
เดี๋ยวนี้เจริญธรรมพากันไว  พากันไปสร้าง สานต่อกัน ทำความเข้าใจ นี่เป็นพียงแต่เล่าให้ฟัง

 

 

ที่มา http://www.managerroom.com/forums/forum_posts.asp?TID=5196&a mp;PN=1

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

คำสอนหลวงพ่อ ๑๓ ก.ย.๕๑-6

ทำอย่างไร เราถึงจะมาตัดวงกลมออก คือ มาเจริญสติ  รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็รู้จักดับ รู้จักควบคุม
ถ้าเราเห็นตั้งแต่การก่อตัว การเกิด จิตจะเคลื่อนตัวเข้าไปรวม 
ถ้าเรารู้ทัน เค้าก็จะแยกออกจากกัน เค้าก็จะดีดออกจากกัน
เหมือนกับมีดตัด เชือกดึงตึง ๆ นี่กระเด็นออกจากกัน เหมือนกับการตัดวงกลม
เพียงแค่เราแยกได้ ตัดได้ อันนี้เพียงแค่เริ่มต้น ถ้าขาดการทำความเข้าใจ เค้าก็เข้าไปรวมกันอีก

เราต้องพยายามไม่ให้คลาดสายตา สติปัญญาได้ นอกจากเรานอนหลับ ตื่นขึ้นมาเอาใหม่
แล้วก็พยายามละออกให้มันหมด ความอยากเล็ก ๆ น้อย ๆ
อยากมี อยากเป็น อยากไป อยากมา ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากมา
แม้กระทั่งอยากคิด เราต้องหัดคิดพิจารณา ในหลักธรรม ท่านเรียกว่า ปฏิสังขาโย อยู่ตลอดเวลา
พระก็เข้าใจได้ ชีก็เข้าใจได้ โยมก็เข้าใจได้ ถ้าฝักใฝ่

แต่ทุกคนก็เกิดมาด้วยแรงกรรม ด้วยวิบากของกรรม
วิบากกรรมคลายเมื่อไหร่ถึงจะเข้าใจ กุศลกรรมมากขึ้นมา อกุศลกรรมก็น้อยลง
จนจิตของเราอยู่เหนือวิบากกรรมได้นั่นแหละ เราถึงจะมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด

ขอให้เรารู้ทางของจิตให้ได้ ฐานบุญมีกันทุกคน แต่การเดินปัญญาวิปัสนาขั้นสูง
เพียงแค่เริ่มต้น แยกรูปแยกนาม เราก็ยังแยกไม่ได้ เพียงแค่เริ่มการเจริญสติ เราก็ทำไม่ต่อเนื่อง

บางทีไปฝึกก็ได้แค่ความสงบ  แล้วก็ขาดการทำความเข้าใจ ทวารทั้ง ๖ ทำความเข้าใจอย่างไร
กายของเราทำหน้าที่อย่างไร ทวารของเราทำหน้าที่อย่างไร ถ้าเราแยกได้ จะสนุกในการดู ในการรู้
กิเลสตัวไหนมันจะมาหลอกเรา เราจะพลั้งเผลอให้กิเลสตัวไหน
ไม่ต้องไปไขว่คว้าเอาตัวโน้นเอาตัวนี้หรอก เอาตัวเกิดอยู่เฉพาะหน้าอยู่ปัจจุบันนี้แหละ

จิตปกติเป็นอย่างไร ความคิดผุดขึ้นมาเป็นอย่างไร ตามดูรู้ให้เท่าทัน รู้ไม่ทันก็รู้จักดับ รู้จักควบคุม
ดับได้เราก็วาง เริ่มใหม่ สังเกตใหม่ ละความเกียจคร้าน ละนิวรณ์
สนุก ทำงานไปด้วย จิตพักผ่อนไปด้วย ละนิวรณ์ไปด้วย ละความเกียจคร้านไปด้วย

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

คำสอนหลวงพ่อ ๑๓ ก.ย.๕๑-5

ตื่นขึ้นมาปุ๊บ จิตก็ไปแล้ว ไปไหน บางทีจิตก็ไปไหลลึกไปในกองบุญ อยากจะไปทำบุญ อยากจะไปให้ทาน
เข้ามาวัดก็มาด้วยกองบุญนั่นแหละ ก็มาด้วยแรงบุญนั่นแหละ มาทำบุญ มาให้ทาน
ถ้าเราได้มา เราก็จะรู้สึกว่าจิตใจสบาย จิตของทุกดวงก็คล้ายกันหมดนั่นแหละ ได้ทำบุญก็สบายใจ

เหมือนกับสมัยก่อน ๆ ครั้งที่หลวงพ่อเป็นเด็ก ไปทำบุญที่วัด เอาปิ่นโตไปวัด ไปทำบุญถวายพระ
เวลาพระท่านขบท่านฉันอาหารของเรา ฉันได้เยอะเท่าไหร่ รู้สึกว่าจิตมันอิ่ม ปิติเกิดสุข
ก็คงจะเหมือนกับจิตของทุกคน เวลาไปวัดหรือว่าเอาของให้ใคร เค้าเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
เกิดอิ่มปีติสุข นั่นแหละบุญ บุญมันเกิดขึ้น เราพยายามรักษาบุญตรงนั้นเอาไว้

ทีนี้ไปไหนมาไหนมีแต่ความอยาก อยากให้ อยากเอาออก
แต่คนทั่วไป มีแต่อยากเอาอยากได้ อยากเอาอยากได้ 

 อยากมี อยากเป็น สอนให้มีตั้งแต่ความทะเยอทะยานอยาก อยากของกิเลสตัณหา
ไม่สอนให้คลายออก ไม่เอาออก ต้องสอนให้เอาออก ให้มีความรับผิดชอบ ให้มีความเสียสละ
จะเอา จะมี จะเป็น ก็เอาด้วยสติ เอาด้วยปัญญา เอาด้วยเหตุ เอาด้วยผล จะเอามากเอาน้อยก็เป็นเรื่องของปัญญา

ธรรมะนั้นมีอยู่ มีอยู่ทุกที่ อยู่ในกายในใจของเรา ธรรมมะ คือ ธรรมชาติ ธรรมชาติของจิตที่ปราศจากกิเลส ก็สะอาดก็บริสุทธิ์
แต่เวลานี้จิตของเรายังฝังแน่นด้วยกิเลส ยังฝังแน่ด้วยด้วยความทะเยอทะยานอยาก ความทะเยอทะยานท่านถึงว่าเป็นยางเหนียว
ความอยาก ความโลภ ความโกรธ เต็มอัตราศึก

เราต้องพยายาม มาผ่อน มาคลาย มาละ มาดับ  กลับดวงจิตของเราให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
เพราะอัดแน่นมาด้วยกิเลสตัณหา ไม่รู้ กี่ภพ กี่ชาติ กี่กับป์ กี่กัลป์
อัดแน่นด้วยกิเลสยังไม่พอ ยังโดนขันธ์ ๕ เข้าไปควบคุมอีก เป็นวัฏจักรหมุนเป็นวงกลม
นั่นแหละวิบากกรรมเก่า มาปรุงแต่งจิต มาปรุงแต่งจิตนี่ยังไม่พอ จิตกระโดดเข้าไปรวม ปรุงแต่งเข้าไปด้วยกันอีก
เป็นวงกลมหาที่สิ้นสุดไม่มี กลิ้งไปอยู่อย่างนั้น เพียงแค่ห้านาที สิบนาที รู้ไปสักกี่เรื่อง ไปสักกี่อย่าง

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

คำสอนหลวงพ่อ ๑๓ ก.ย.๕๑-4

เพียงแค่แยกรูปแยกนาม ครั้งแรก เราแยกรูปแยกนามได้ ตามดูได้
เราก็ไม่ให้คลาดสายตาของสติปัญญาของเราไปได้ แม้แต่กระเบียดนิ้วเดียว นอกจากจะนอนหลับ ตื่นขึ้นมาก็ดูใหม่ แก้ไขใหม่

อันนี้ วันทั้งวัน เดือนทั้งเดือน ปีทั้งปี เราไม่ได้เจริญสติให้ต่อเนื่องกัน เพียงแค่ห้านาทีสิบนาทีก็ไม่ได้เจริญสติให้ต่อเนื่องกัน
ไปปฏิบัติธรรมก็อยากจะรู้ตั้งแต่ธรรม อยากจะได้ตั้งแต่ธรรม ทั้งที่จิตก็เป็นบุญอยู่นั่นแหละ
เราต้องพยายามละออกให้หมดนั่นแหละ ใหม่ ๆ ก็สร้างบุญสร้างกุศล สร้างอานิสงค์ให้มีให้เกิด เค้าเรียกว่าสร้างบารมี

แม้ตั้งแต่พระพุทธองค์ก็ท่านสร้างบารมีจนเต็มเปี่ยม
มีสัจจะ มีวิริยะ มีความเพียร มีความอดทน มีพรหมวิหาร มีความเมตตา มีความอ่อนน้อมถ่อมตน กตัญญูกตเวที
อันนี้เป็นสะพาน เป็นทางบุญ ที่จะทำให้จิตของทุกคนตกเข้าไปสู่กระแสธรรมได้ง่ายขึ้น
ถ้าจิตไม่มีความเสียสละ ไม่มีการละกิเลส มีตั้งแต่ความอยาก มันก็ปิดกั้นตัวเองเอาไว้เซี๊ย
ไม่ว่าทะเยอทะยานอยากในอะไรก็ช่าง ละเอียดลงไปก็อยากจะได้ธรรมอีก อยากจะได้รับความสงบ อยากจะหลุดพ้นอีก มันก็ปิดกั้นตัวเองเอาไว้

พวกนิวรณ์ธรรมต่าง ๆ ความกังวลต่าง ๆ ถ้าไม่เอาจริง ๆ ทำจริง ๆ จัง ๆ แล้วมันจะรู้ได้อย่างไรหล่ะ
จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก ต้องทำในใจอยู่ตลอดเวลา พิจารณาในใจอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา
ไม่ใช่ว่าจะปล่อยปละละเลย ต้องหมั่นสำรวจสำรวม ใหม่ ๆ จิตไม่ยอมเชื่อฟังก็ต้องกระหนาบแล้วกระหนาบอีก
หาอุบาย หาปัญญา เข้าไปดับ เข้าไปละ เข้าไปกระหนาบ

จิตเกิดส่งไปภายนอกเราก็ดับ อยู่กับลมหายใจ หรือว่าอยู่กับการเดิน
จิตเกิดความอยาก เราก็ละความอยาก จิตเกิดความโลภเราก็พยายามให้ เอาออก ให้อภัยทาน อโหสิกรรม

ถ้าเราไม่ฝึกฝนตนเองถึงขนาดนั้น จะไปร้องตะโกนอยู่ที่ไหน จะไปปฏิบัติธรรมที่ไหนมันก็เหมือนเดิม
ตื่นขึ้นมากิเลสเกิดขึ้นที่จิตสักกี่เที่ยว จิตก่อตัวสักกี่ครั้ง ความระลึกรู้ตัวของเรา พลั้งเผลอไปสักกี่เที่ยว
ส่วนมากไม่พลั้งเผลอหรอก ไม่ได้สร้างขึ้นมาเลย ไม่ได้สร้างเอาซะเลย

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

คำสอนหลวงพ่อ ๑๓ ก.ย.๕๑-3

 

ต้องแก้ไขตัวเอง ปรับปรุงตัวเอง ช่วยเหลือตัวเอง มีความรับผิดชอบให้สูง

รับผิดชอบส่วนตัว ส่วนรวม รู้จักวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุหาผล
ไปที่โน้นว่าจะรู้ธรรม ที่นี่ว่าจะรู้ธรรม ยังไม่รู้ ถ้าไม่ได้หมั่นวิเคราะห์ตัวเรา รู้จักดับ รู้จักละ

แต่ละวันจิตของเราเกิดความอยาก สักกี่ครั้ง จิตของเราส่งออกไปข้างนอกสักกี่เรื่อง
มีเหตุอะไรมาทำให้จิตเกิด ความคิดขันธ์ ๕ เขาก่อตัวได้อย่างไร จิตของเราเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร
จนเป็นตัวเดียวกันสิ่งเดียวกันได้อย่างไร เรารู้ตั้งแต่ต้นเหตุหรือไม่
แต่บางครั้ง ทั้งจิต ทั้งขันธ์ ๕ ทั้งสติปัญญาเค้ารวมกันวิ่งออกไปภายนอกหมดเลย
อาจจะมีเหตุมีผลอยู่ในระดับสมมุติอาจจะถูก อยู่ระดับของสมมุติ อันนั้น ยังหลงอยู่ ยังหลงอยู่

เราต้องพยายามน้อมเข้าไปคายความหลงไปได้เสียก่อน จัดการเรื่องจิตของเราให้เรียบร้อยเสียก่อน จิตอยากเกิดเราไม่ให้เกิด
จิตของเรายังหลงอยู่  เราก็ต้องเจริญสติเข้าไปแยกเข้าไปคาย หาเหตุหาผล
สติตามทำความเข้าใจหาเหตุหาผล  ทุกแง่ทุกมุมอย่างละเอียด  จนจิตรู้เห็นตามความเป็นจริงนั่นแหละ เค้าถึงจะวางของเค้าได้

เพียงแค่แยก เราก็ยังแยกไม่ได้ มันจะไปวางได้อย่างไร
ถ้าแยกได้ ตามดูได้ หาเหตุหาผลได้นั่นแหละ หมั่นพร่ำสอนจิตนั่นแหละ จิตถึงจะยอมวาง
ไม่อยากจะวางก็ต้องวาง เพราะมัน จิตมันรู้ทุกข์ การเกิดเป็นทุกข์ การเป็นทาสของกิเลสเป็นทุกข์ เค้าก็จะวาง

กิเลสมันก็มีหลายระดับ กิเลสหยาบ  กิเสลละเอียด
กิเลสเกิดขึ้นที่กายหรือเกิดขึ้นที่จิต จิตปรุงแต่งกิเลสหรือกิเลสเกิดจากภายนอกส่งผลเข้ามาถึงจิต
มันเป็นของละเอียดอ่อนหมดทุกอย่างนั่นแหละ ถ้าพวกเราขาดการวิเคราะห์พิจารณามันก็ยากอยู่
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ได้ศึกษา ทุกคนก็มีเต็มเปี่ยมอยู่ในระดับของโลกิยะ ในสมมุติ
จะพูดไปก็ได้แต่เพียงแค่พูดให้ฟัง ถ้าไม่รู้จักไปเก็บเอารายละเอียด

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น